บทที่ ๔: พยางค์ (3)

ບົດທີ່ ໔: ພະຍາງ

ข. ใช้เป็นพยัญชนะต้นพยางค์

พยัญชนะต้นพยางค์คือพยัญชนะพวกอักษรแกน ซึ่งเอาเสียงของตนไปเป็นแกนของคำพูด คือเป็นตัวออกเสียงในพยางค์ที่ไม่ใช่เสียงตัวสะกด. พยัญชนะต้นพยางค์มี ๒ ประเภทคือ ต้นพยางค์ตัวเดียว ได้แก่พยัญชนะเค้า หรืพยัญชนะเปลี่ยว และต้นพยางค์ ๒ ตัวได้แก่ พยัญชนะสองตัวที่อยู่ด้วยกัน โดยอาศัยสระเดียวกัน ดังนี้:

+ พยัญชนะต้นพยางค์ตัวเดียว: เป็นพยัญชนะเค้า หรือพยัญชนะเปลี่ยว แต่ละตัวที่ประกอบกันกับสระ อาจมีตัวสะกด, มีวรรณยุกต์ หรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น :

ຕາ, ສີ, ມື, ແປ, ເຄືອ, ຍາວ, ດອນ, ທ້າວ, ຮຸ່ງ, ເຮືອງ, … ตัว ຕ, ສ, ມ, ປ, ຄ, ຍ, ດ, ທ, ຮ, ຮ ที่ออกเสียงอยู่ในคำเหล่านั้นเป็นพยัญชนะเค้า หรือพยัญชนะเปลี่ยว ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นคำ หรือต้นพยางค์เดียว

+ พยัญชนะต้นพยางค์สองตัว: เป็นพยัญชนะผสมทั้ง ๖ ตัว และพยัญชนะควบ ๑ ตัว ที่เอามาผสมใส่กับสระ อาจจะมีตัวสะกด, มีวรรณยุกต์ หรือไม่มีก็ตาม ตัวอย่างเช่น:

พยัญชนะผสม : ໜາແໜ້ນ, ໝໍ້ໜຶ້ງ, ຫຼວງຫຼາຍ, ຫຍ້າຫວາຍ, … ตัว ໜ, ໜ, ໝ, ໜ ຫຼ, ຫຼ, ຫຍ, ຫວ ที่ออกเสียงอยู่ในคำเหล่านั้นเป็นพยัญชนะผสม ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ ๒ ตัว.

พยัญชนะควบ: ກວາ, ຂ້າງຂວາ, ຄົ້ນຄວ້າ, ຄວາຍເຖິງ, ງົມງວາຍ, ໄຈ້ວ ໆ, ສວ່າງເຊົາ, … ตัว ກວ, ຂວ, ຄວ, ຄວ, ງວ, ຈວ, ສວ ที่ออกเสียงอยู่ในึำเหล่านั้น เป็นพยัญชนะึควบ ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ ๒ ตัว.

Technorati Tags: , , , , , , , ,

2 thoughts on “บทที่ ๔: พยางค์ (3)”

  1. You could certainly see your skills within the work you write. The world hopes for even more passionate writers like you who aren’t afraid to mention how they believe. At all times follow your heart.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.