ຄຳສຸພາສິດ

ติดตรงไหนลองถามเข้ามาได้นะครับ 😉

ຄຳສຸພາສິດ

ຄຳວ່າ “ ສຸພາສິດ ” ເປັນຄຳເວົ້າທີ່ສັ້ນ ແຕ່ມີຄວາມຫມາຍອັນເລິກເຊິ່ງ ເຊິ່ງຊາວບູຮານປະດິດແຕ່ງຂຶ້ນມາແຕ່ບູຮານະການ. ຄຳສຸພາສິດເປັນວັນນະຄະດີພື້ນເມືອງລາວປະເພດຫນຶ່ງ ເຊິ່ງຜູ້ແຕ່ງມັກໃຊ້ຄຳເວົ້າທີ່ສັ້ນໃຫ້ສຳຜັດເກາະກ່າຍກັນ ເພື່ອໃຫ້ຜູ້ຟັງເຂົ້າໃຈງ່າຍ ແລະຈື່ໄດ້ດົນ. ເນື້ອໃນຂອງຄຳສຸພາສິດເປັນຄຳສັ່ງສອນ ເພື່ອຕັກເຕືອນໃຫ້ຊາວຜູ້ອອກແຮງງານປະພຶດຕົນເອງ ໄປໃນຄວາມຖືກຕ້ອງເຫມາະສົມ ຫຼື ຈະເວົ້າໄດ້ອີກຢ່າງຫນຶ່ງວ່າ ຄຳສຸພາສິດແມ່ນບົດຮຽນອັນມີຄຸນຄ່າໃນການດຳລົງຊີວິດ ແລະ ທຳມາຫາກິນຂອງຊາວຜູ້ອອກແຮງງານ.

บทที่ ๑.๒: พยัญชนะผสม

໑.໒ ພະຍັນຊະນະປະສົມ (พยัญชนะผสม)

พยัญชนะผสม คือพยัญชนะสองตัว ที่เอามาผสมกันให้เป็นตัวเดียวโดยในภาษาลาวนั้น จะมีอยู่ ๖ ตัวด้วยกัน แต่ละตัว ตั้งต้นด้วยตัว ຫ (ห) ที่เป็นอักษรสูง แล้วเอาตัว ງ ຍ ນ ມ ລ ວ ที่เป็นอักษรต่ำมาผสม โดยจะมีเพียงอักษรต่ำเหล่านี้เท่านั้น ที่ใช้ผสมได้

เมื่อผสมแล้ว ตัว ຫ จะไม่ออกเสียง แต่มันจะทำให้ตัวอักษรต่ำเหล่านั้น ผันเสียงเป็นอักษรเสียงสูงดั่งนี้:

  • ຫ ผสมกับ ງ เป็น ຫງ ตัวอย่างเช่น: ເຫງົາ (เหงา)
  • ຫ ผสมกับ ຍ เป็น ຫຍ ตัวอย่างเช่น: ຫຍ້າ (หญ้า)
  • ຫ ผสมกับ ນ เป็น ຫນ ตัวอย่างเช่น: ຫນາ, ໜາ (หนา)
  • ຫ ผสมกับ ມ เป็น ຫມ ตัวอย่างเช่น: ຫມູ, ໝູ (หมู)
  • ຫ ผสมกับ ລ เป็น ຫລ ตัวอย่างเช่น: ຫລາ, ຫຼາ (หลา)
  • ຫ ผสมกับ ວ เป็น ຫວ ตัวอย่างเช่น: ຫວີ (หวี)

(ตรงนี้ จะสังเกตุว่า ในภาษาลาว นอกจากจะผสมคำ เพื่อให้ออกเสียงเป็นเสียงสูงแล้ว คำที่ผสมนั้น ก็ยังสามารถนำมาผสมกันได้อีก อย่างเช่น ຫນ ก็สามารถเขียนรวมกันเป็น ໜ ได้ หรือ ຫມ ก็เขียนเป็น ໝ ได้เลย รวมไปถึง ຫຼ ที่สามารถใช้แทน ຫລ ได้ครับ)

ปล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ

บทที่ ๑.๑: พยัญชนะเค้า

໑.໑ ພະຍັນຊະນະເຄົ້າ (พยันชนะเค้า)

ในจำนวนพยัญชนะทั้ง ๓๒ ตัว จะมีพยัญชนะเค้า ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวเดิม ที่ยังไม่ได้ผสมกับตัวอื่น โดยพยัญชนะเค้านั้น จะมีทั้งหมดด้วยกัน ๒๖ ตัวคือ:

ກ ຂ ຄ ງ ຈ ສ ຊ ຍ ດ ຕ ຖ ທ ນ ບ ປ ຜ ຝ ພ ຟ ມ ຢ ລ ວ ຫ ອ ຮ

นอกจากนั้นแล้ว พยัญชนะเค้า ยังถูกแบ่งออกเป็น ๓ หมวดหมู่คือ:

  1. ອັກສອນສູງ (อักษรสูง)
  2. ອັກສອນກາງ (อักษรกลาง)
  3. ອັກສອນຕ່ຳ (อักษรต่ำ)

๑. อักษรสูง จะหมายถึงจำพวกอักษร ที่มีเสียงสูง ซึ่งมี ๖ ตัวด้วยกัน คือ:

ຂ ສ ຖ ຜ ຝ ຫ

๒. อักษรกลาง จะหมายถึงจำพวกอักษรที่มีเสียงอยู่ในระดับปลานกลาง ไม่สูง ไม่ต่ำ มีทั้งหมด ๘ ตัวคือ:

ກ ຈ ດ ຕ ບ ປ ຢ ອ

๓. อักษรต่ำ จะเป็นพวกอักษรที่มีเสียงต่ำ มี ๑๒ ตัวด้วยกัน คือ:

ຄ ງ ຊ ຍ ທ ນ ພ ຟ ມ ລ ວ ຮ

ปล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ

บทที่ ๑: ตัวอักษรลาว

เอาละครับ ในที่สุด ก็ได้เวลาเริ่มบทเรียนกันเสียที หลังจากที่ดองโปรเจ็คมานานแสนนาน ซึ่งก่อนอื่น ต้องขอบอกก่อนเลยว่า บทสอนต่างๆ จะอ้างอิงมาจากหนังสือ

“ແບບຮຽນ ພາສາລາວ ແລະວັນນະຄະດີ ຊັ້ນມັດຖະຍົມປີທີ ຫນຶ່ງ”
(แบบเรียน ภาษาลาว และวรรณคดี ชั้นมัธยมปีที่ หนึ่ง)

โดย

“ກະຊວງສຶກສາທິການ ສະຖາບັນຄົ້ນຄວ້າ ວິທະຍາສາດ ການສຶກສາ ແຫ່ງຊາດ”
(กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันค้นคว้า วิทยาศาสตร์ การศึกษา แห่งชาติ)

เป็นหลักนะครับ และวันแรก เราจะมาทำความเข้าใจกันถึง ตัวอักษรในภาษาลาว กันครับ

ตัวอักษรลาว

ตัวอักษรในภาษาลาวนั้น จะถูกแบ่งเป็น ๓ หมวดคือ

  1. ພະຍັນຊະນະ (พยัญชนะ)
  2. ສະລະ (สระ)
  3. ວັນນະຍຸດ (วรรณยุกต์) <– ขอบคุณคุณ MaewDam ครับที่แก้ให้ ^_^

ในภาษาลาวก็เหมือนๆ กับภาษาไทย และภาษาอื่นๆ ในโลกนี้ การที่จะเขียนคำๆ หนึ่ง ก็จะต้องใช้หลายตัวอักษรมาประกอบเข้ากัน ตัวอย่างก็เช่นว่า “ແກ້ວ” (แก้ว) จะสามารถแยกได้ดั่งนี้:

  • ແx (แx) คือสระ
  • ກ (ก) คือพยัญชนะหลัก หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นพยัญชนะตัวออกเสียง
  • ວ (ว) เป็นพยัญชนะตัวสะกด
  • ້ (x้) ตัวนี้ก็จะเป็นวรรณยุกต์

จะเห็นว่า การเรียนรู้ภาษาลาวนั้น จะต้องเรียนรู้ตัวอักษรลาว และการเขียนตัวอักษรให้ถูกที่ของมัน จึงจะสามารถเขียนคำพูด และประโยคออกมาได้อย่างถูกต้อง

ป.ล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ

มาเรียนภาษาลาววันละคำกันนะครับ