บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (3)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນຕົວຫນັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໓)

3. หลักเครื่องหมายวรรค

เครื่องหมายวรรคเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคั่นระยะ ให้การเขียนหนังสือลาวเป็นระเบียบ และเป็นการง่ายให้แก่ผู้อ่าน และผู้ฟังด้วย.

เพื่อจะเขียนหนังสือลาวให้ถูกต้องนั้น ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ “ ເຄື່ອງໝາຍວັກ ” ( เครื่องหมายวรรค) ให้ถูกที่ และเพื่อใช้เครื่องหมายวรรคให้ถูกที่นั้น ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำด้่านล่างนี้.

ต้องเขียนบทความให้ ครบคำพูด, เป็นประโยกเป็นตอน และเป็นวรรคตามแต่คำพูดจะมาก หรือน้อย. คำพูดใดติดกัน ให้เขียนเป็นคำติดกัน, ใดไม่ติดกันนั้นให้เขียนเว้นระยะไว้ หรือ “ ເຄື່ອງໝາຍຈຸດ ” ( , ) ลง เพื่อไม่ให้ผู้อ่านติดกัน เช่น : ຝົນຕົກລິນ, ນ້ຳນອງ, ການເດີນທາງໄປມາຫຍຸ້ງຍາກ. ถ้าหากใช้จุดเพื่อคั่นหลายคำที่อยู่ติดกันนั้นให้ใช้ “ ຄຳຕໍ່ ” ( คำสันธาน ) เช่น “ ແລະ ” ลงต่อหน้าคำสุดท้าย, เช่น : ນາງ ເກດແກ້ວ ແລະ ທ້າວ ຄຳໃສ ເປັນນັກຮຽນດີ; ໄກ່ຜູ້, ໄກ່ແມ່ ແລະໄກ່ນ້ອຍ ຫາກິນຢູ່ຕາມເດີ່ນບ້ານ; ແມ່ຄ້າເອົາໄກ່, ເປັດ, ປູ, ປາ, ຜັກ ແລະ ເຂົ້າມາຂາຍ.

ประโยกใดหากครบความหมายแล้วต้องใส่ “ເຄື່ອງໝາຍຈ້ຳ” ( . ) ลงคั่นไว้, แล้วค่อยเขียนประโยกอื่นต่อไป, เช่น : ຕອນເຊົ້າຂ້ອຍໄປໂຮງຮຽນ. ຕອນແລະຂ້ອຍໄປຫົດຜັກຊ່ວຍແມ່. ຕອນຄ່ຳຫຼັງຈາກກິນເຂົ້າແລງແລ້ວຂ້ອຍຮຽນໜັງສື.

ถ้าตอนใดประกอบด้วยหลายประโยก ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันนั้น ต้องใช้ “ ຈ້ຳຈຸດ ” ( ; ) คั่นไว้, เช่น : ເປັນນັກຮຽນຕ້ອງດຸໝັ່ນຮ່ຳຮຽນ; ຄວາມດຸໝັ່ນຮ່ຳຮຽນມັນສະແດງອອກໃນການໄປໂຮງຮຽນບໍ່ຂາດ ແລະ ຕັ້ງໃຈຟັງຄຳອະທິບາຍຂອງຄູ; ຄວາມດຸໝັ່ນບໍ່ພຽງແຕ່ດຸໝັ່ນຮຽນຢູ່ໃນຫ້ອງຮຽນເທົ່ານັ້ນ ເວລາຢູ່ເຮືອນກໍ່ຕ້ອງດຸໝັ່ນທວນຕືນບົດຮຽນເລື້ອຍ ໆ.

Technorati Tags: , , , , , , , , , , ,

2 thoughts on “บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (3)”

  1. แก้ไขนิดหน่อยครับ ประโยค ไม่ใช่ ประโยก (ภาษาไทย ใช้ ค สะกดครับ มีไม่กี่คำที่ใช้ ค สะกดแทน ก)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

code

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.