Category Archives: บทเรียนภาษาลาว

บทที่ ๔: พยางค์ (3)

ບົດທີ່ ໔: ພະຍາງ

ข. ใช้เป็นพยัญชนะต้นพยางค์

พยัญชนะต้นพยางค์คือพยัญชนะพวกอักษรแกน ซึ่งเอาเสียงของตนไปเป็นแกนของคำพูด คือเป็นตัวออกเสียงในพยางค์ที่ไม่ใช่เสียงตัวสะกด. พยัญชนะต้นพยางค์มี ๒ ประเภทคือ ต้นพยางค์ตัวเดียว ได้แก่พยัญชนะเค้า หรืพยัญชนะเปลี่ยว และต้นพยางค์ ๒ ตัวได้แก่ พยัญชนะสองตัวที่อยู่ด้วยกัน โดยอาศัยสระเดียวกัน ดังนี้:

+ พยัญชนะต้นพยางค์ตัวเดียว: เป็นพยัญชนะเค้า หรือพยัญชนะเปลี่ยว แต่ละตัวที่ประกอบกันกับสระ อาจมีตัวสะกด, มีวรรณยุกต์ หรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น :

ຕາ, ສີ, ມື, ແປ, ເຄືອ, ຍາວ, ດອນ, ທ້າວ, ຮຸ່ງ, ເຮືອງ, … ตัว ຕ, ສ, ມ, ປ, ຄ, ຍ, ດ, ທ, ຮ, ຮ ที่ออกเสียงอยู่ในคำเหล่านั้นเป็นพยัญชนะเค้า หรือพยัญชนะเปลี่ยว ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นคำ หรือต้นพยางค์เดียว

+ พยัญชนะต้นพยางค์สองตัว: เป็นพยัญชนะผสมทั้ง ๖ ตัว และพยัญชนะควบ ๑ ตัว ที่เอามาผสมใส่กับสระ อาจจะมีตัวสะกด, มีวรรณยุกต์ หรือไม่มีก็ตาม ตัวอย่างเช่น:

พยัญชนะผสม : ໜາແໜ້ນ, ໝໍ້ໜຶ້ງ, ຫຼວງຫຼາຍ, ຫຍ້າຫວາຍ, … ตัว ໜ, ໜ, ໝ, ໜ ຫຼ, ຫຼ, ຫຍ, ຫວ ที่ออกเสียงอยู่ในคำเหล่านั้นเป็นพยัญชนะผสม ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ ๒ ตัว.

พยัญชนะควบ: ກວາ, ຂ້າງຂວາ, ຄົ້ນຄວ້າ, ຄວາຍເຖິງ, ງົມງວາຍ, ໄຈ້ວ ໆ, ສວ່າງເຊົາ, … ตัว ກວ, ຂວ, ຄວ, ຄວ, ງວ, ຈວ, ສວ ที่ออกเสียงอยู่ในึำเหล่านั้น เป็นพยัญชนะึควบ ซึ่งเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ ๒ ตัว.

Technorati Tags: , , , , , , , ,

บทที่ ๔: พยางค์ (2)

ບົດທີ່ ໔: ພະຍາງ

ก. การประกอบพยางค์

การประกอบพยางค์ คือการเอาพยัญชนะ, สระ, วรรณยุกต์ หรือตัวสะกดประกอบเข้ากันให้เป็นคำพูด. พยางค์หนึ่ง ๆ อาจมีแต่พยัญชนะ กับสระประกอบกัน, บางพยางค์ อาจมีทั้งพยัญชนะ, สระ, วรรณ์ยุกต์ และตัวสะกดร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น :

ຫາ มีแต่พยัญชนะกับสระ
ຫ້າ มีทั้งพยัญชนะ, สระ และวรรณยุกต์
ຫ່ານ มีทั้งพยัญชนะ, สระ, วรรณยุกต์ และตัวสะกด ๆลๆ.

การใช้พยัญชนะในพยางค์หนึ่ง ๆ มี ๒ วิธีใช้คือ

๑. เป็นพยัญชนะต้นพยางค์
๒. เป็นตัวสะกด

Technorati Tags: , , , , , ,

บทที่ ๔: พยางค์ (1)

ບົດທີ່ ໔: ພະຍາງ

๑. พยางค์ในภาษาลาว

คำพูดในภาษาลาวบางคำออกเสียงครั้งเดียว บางคำก็ออกเสียงหลายครั้ง เสียงคำพูดที่ดังออกมาแต่ละครั้งนั้น เรียกว่า “ ພະຍາງ ” ( พยางค์ ) แปลว่า ส่วนของคำพูด, คำพูดใดหนึ่ง อาจมีส่วนเดียว หรือหลายส่วน. คำพูดในภาษาลาวส่วนมากจะเป็นคำที่มีพยางต์เดียว หรือส่วนเดียวเช่น : ພໍ່, ແມ່, ປ້າ, ລຸງ, ບ້ານ, ເມືອງ … แต่บางคำก็มีหลายพยางค์เช่น :

ນັກຮຽນ ( นักเรียน ) เป็นคำที่มี ๒ พยางค์
ວັນນະຍຸດ ( วรรณยุกต์ ) เป็นคำที่มี ๓ พยางค์
ພະຍັນຊະນະ ( พยัญชนะ ) เป็นคำที่มี ๔ พยางค์
ປະຊາທິປະໄຕ ( ประชาธิปไตย ) เป็นคำที่มี ๕ พยางค์

พยางค์หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๒ เสียงคือ : เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ตัวอย่างเช่น : ກາ, ປາ, ນາ… ส่วนมากแล้ว พยางค์ จะประกอบมีเสียงพยัญชนะแกน, เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์. บางพยางค์มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียง เรียกว่า “ ສຽງສະກົດ ” (เสียงสะกด)

Technorati Tags: , , , , , , , ,

บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (5)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນຕົວຫນັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໕)

5. หลักการใช้สระ “ ໄx ” และ “ ໃx ”

สระ “ ໄx ” ( ສະຫຼະໄອໄມ້ມາຍ ) ใช้เขียนคำพูดในภาษาลาวดั่งนี้ : ໄປໄດ້, ຕົ້ນໄມ້, ງາໄຊ, ໄຖນາ, ໄຫ້, ໄກ … นอกจากนั้น ยังใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลี และสันกฤษ เช่น : ວິໄນ, ສະໄໝ, ອາໄສ, ປັດໄຈ, ອະສົງໄຂ, ອາໄລ, ນິດໄສ ໆລໆ.

สระ “ ໃx ” ( ສະຫຼະໄອໄມ້ມ້ວນ ) ใช้เขียนคำพูดในภาษาลาวดั่งนี้ : ຢູ່ໃກ້, ຫົວສີໃຄ, ໜ້າໃຄ່, ຂີ້ໃງ່, ຫົວໃຈ, ໃສ່ໃຈ, ຮັບໃຊ້, ຫ່ວງໃຍ, ຜູ້ໃດ, ຕັບໃຕ, ທິດໃຕ້, ໃນເຮືອນ, ໃບໄມ້, ຄົນໃບ້, ຂອງໃຜ, ໃຝ່ຝັນ, ລູກໃພ້, ເອົາໃຫ້, ໃຮ່ນາ, ໃຫຍ່ສູງ, ປັບໃໝ, ປີໃໝ່, ຫຼົງໃຫຼ …

ประโยชน์ของการใช้สระ “ ໄx ” และ “ ໃx ” ก็เพื่อไม่ให้สับสนกันในสองตัว หรือสองคำที่มีเสียงคล้ายกันเช่น : “ ໄຫ້ ” ( ຮ້ອງໄຫ້ເຊັດນ້ຳຕາ ) กับ “ ໃຫ້ ” ( ເອົາຂອງໃຫ້ ), “ ໄກ້ ” ( ໂຕໄກ້ ) กับ “ ໃກ້ ” ( ໃກ້ບ້ານ ) เหล่านี้เป็นต้น.

ตัวอย่างการใช้ :

  • ແມ່ລາວເອົາເຂົ້າໜົມໃຫ້ ແລ້ວທ້າວແອນ້ອຍກໍ່ເຊົາໄຫ້
  • ເຮືອນຂອງຂ້ອຍຢູ່ບໍ່ໄກດອກ ຢູ່ໃກ້ ໆ ນີ້ແຫຼະ
  • ໂຕໄກ້ ນອນຢູ່ໃກ່ໂພນປວກ

Technorati Tags: , , , , , , , , ,

บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (4)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນຕົວຫນັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໔)

4. หลักการใช้ตัวอักษร “ ຮ ” และ “ ລ ”

คำพูดในภาษาลาวหลายคำนั้นมาจากภาษาบาลี. แต่ว่าตัวอักษรลาวเดิมมีแต่ตัว “ ຮ ” ( ฮ ) และตัว “ ລ ” ( ล ) ไม่มีตัว “ ຣ ” ( ร ). ดังนั้น ตัว “ ຣ ” ในภาษาบาลี จึงต้องใช้ตัว “ ຮ ” หรือตัว “ ລ ” แทน ตัวอย่าง :

คำที่ใช้ตัว “ ຮ ”

ຮັບ : ຮັບເອົາ, ຮັບຮອງ, ທ່າຮັບ, ຮັບຮູ້
ຮ້ານ : ຮ້ານຂາຍຂອງ, ເຮືອນຮ້ານ, ຕັ້ງຮ້ານ
ຮຸ່ນ : ຮຸ່ນໄຮ່, ຮຸ່ນຄົນ, ຮຸ່ນກ້າ
ແຮກ : ແຮກນາ, ແຮກສ່ຽວ, ຄັ້ງແຮກ
ໂຮງ : ໂຮງການ, ໂຮງຮຽນ, ໂຮງແຮມ
ຮອງ : ຮອງນາຍົກ, ຮອງຮອກໄກ່, ສຳຮອງໄວ້
ຮວມ : ( ບໍ່ມີ )
ຮຽງ : ຮຽງຂ້າງ, ຮຽບຮຽງ, ຮຽງຄວາມ
ຮຽນ : ຮຽນໜັງສື, ການຮຽນ, ຮຽນທ່ານ

คำที่ใช้ตัว “ ລ ”

ລັບ : ຄວາມລັບ, ລັບຟ້າ, ລັບແລ
ລ້ານ : ຫົວລ້ານ, ລ້ານກີບ
ລຸ່ນ : ພ້າລຸ່ນ
ແລກ : ແລກປ່ຽນ
ໂລງ : ໂລງຜີ, ໄມ້ໂລງເລງ
ລອງ : ລອງເສື້ອ,​ ທົດລອງ
ລວມ : ລວມກັນ, ຂອງສ່ວນລວມ
ລຽງ : ລຽງເຜິ້ງ, ຫຼໍ່ລຽງ, ເງິນລຽງ
ລຽນ : ລຽນກັນໄວ້, ລຽນຕິດ
ໆລໆ

Technorati Tags: , , , , , , , , , , , ,

บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (3)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນຕົວຫນັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໓)

3. หลักเครื่องหมายวรรค

เครื่องหมายวรรคเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคั่นระยะ ให้การเขียนหนังสือลาวเป็นระเบียบ และเป็นการง่ายให้แก่ผู้อ่าน และผู้ฟังด้วย.

เพื่อจะเขียนหนังสือลาวให้ถูกต้องนั้น ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ “ ເຄື່ອງໝາຍວັກ ” ( เครื่องหมายวรรค) ให้ถูกที่ และเพื่อใช้เครื่องหมายวรรคให้ถูกที่นั้น ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำแนะนำด้่านล่างนี้.

ต้องเขียนบทความให้ ครบคำพูด, เป็นประโยกเป็นตอน และเป็นวรรคตามแต่คำพูดจะมาก หรือน้อย. คำพูดใดติดกัน ให้เขียนเป็นคำติดกัน, ใดไม่ติดกันนั้นให้เขียนเว้นระยะไว้ หรือ “ ເຄື່ອງໝາຍຈຸດ ” ( , ) ลง เพื่อไม่ให้ผู้อ่านติดกัน เช่น : ຝົນຕົກລິນ, ນ້ຳນອງ, ການເດີນທາງໄປມາຫຍຸ້ງຍາກ. ถ้าหากใช้จุดเพื่อคั่นหลายคำที่อยู่ติดกันนั้นให้ใช้ “ ຄຳຕໍ່ ” ( คำสันธาน ) เช่น “ ແລະ ” ลงต่อหน้าคำสุดท้าย, เช่น : ນາງ ເກດແກ້ວ ແລະ ທ້າວ ຄຳໃສ ເປັນນັກຮຽນດີ; ໄກ່ຜູ້, ໄກ່ແມ່ ແລະໄກ່ນ້ອຍ ຫາກິນຢູ່ຕາມເດີ່ນບ້ານ; ແມ່ຄ້າເອົາໄກ່, ເປັດ, ປູ, ປາ, ຜັກ ແລະ ເຂົ້າມາຂາຍ.

ประโยกใดหากครบความหมายแล้วต้องใส่ “ເຄື່ອງໝາຍຈ້ຳ” ( . ) ลงคั่นไว้, แล้วค่อยเขียนประโยกอื่นต่อไป, เช่น : ຕອນເຊົ້າຂ້ອຍໄປໂຮງຮຽນ. ຕອນແລະຂ້ອຍໄປຫົດຜັກຊ່ວຍແມ່. ຕອນຄ່ຳຫຼັງຈາກກິນເຂົ້າແລງແລ້ວຂ້ອຍຮຽນໜັງສື.

ถ้าตอนใดประกอบด้วยหลายประโยก ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันนั้น ต้องใช้ “ ຈ້ຳຈຸດ ” ( ; ) คั่นไว้, เช่น : ເປັນນັກຮຽນຕ້ອງດຸໝັ່ນຮ່ຳຮຽນ; ຄວາມດຸໝັ່ນຮ່ຳຮຽນມັນສະແດງອອກໃນການໄປໂຮງຮຽນບໍ່ຂາດ ແລະ ຕັ້ງໃຈຟັງຄຳອະທິບາຍຂອງຄູ; ຄວາມດຸໝັ່ນບໍ່ພຽງແຕ່ດຸໝັ່ນຮຽນຢູ່ໃນຫ້ອງຮຽນເທົ່ານັ້ນ ເວລາຢູ່ເຮືອນກໍ່ຕ້ອງດຸໝັ່ນທວນຕືນບົດຮຽນເລື້ອຍ ໆ.

Technorati Tags: , , , , , , , , , , ,

บทที่ ๓: วิธีเขียนตัวหนังสือลาวให้ถูกต้อง (2)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນຕົວຫນັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໒)

2. หลักไม้่เอกไม้โท

คำพูดในภาษาลาว มีด้วยกัน 6 เสียงคือ :

  1. เสียงสูง
  2. เสียงต่ำ
  3. เอกสูง
  4. เอกต่ำ
  5. โทสูง
  6. โทต่ำ

ฉะนั้น มีความจำเป็นที่ผู้เขียนหนังสือลาว ต้องเขียนให้ถูกต้องหลักไ้ม้เอก ไม้โท อย่าได้ใช้ไม่โทใส่คำที่มีเสียงเอก และอย่าได้ใช้ไม้เอกใส่คำที่มีเสียงโทร, จะเป็นเสียงอักษรสูง, กลาง หรือต่ำก็ตาม.

ตัวอย่าง :

ຂັດແຍ້ງ –ไม่ใช่– ຂັດແຍ່ງ
ຍາດແຍ່ງ –ไม่ใช่– ຍາດແຍ້ງ
ຄ່ອງແຄ່ວ –ไม่ใช่– ຄ້ອງແຄ້ວ
ເລື່ອງ –ไม่ใช่– ເລື້ອງ
ຫຼ້າຫລັງ –ไม่ใช่– ລ້າຫຼັງ

ໆລໆ

Technorati Tags: , , , , , , , , , , ,

บทที่ ๓: วิธีเขียนหนังสือลาวให้ถูกต้อง (1)

ບົດທີ່ ໓: ວິທີຂຽນໜັງສືລາວໃຫ້ຖືກຕ້ອງ (໑)

จริง ๆ แล้ว ผมข้ามสองบทมานะครับ คือบท “การผสมอักษร” และ “วิธีผันเสียง” เพราะรู้สึกว่า จะไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ จำเป็นต้องสอนกันต่อหน้าถึงจะเข้าใจ ไว้ยังไง จะหาวิธีมาทดแทนครับ 😉

มาเข้าบทใหม่กันเลย สำหรับบทนี้ เราจะมีเรียนวิธีเขียนภาษาลาวให้ถูกต้อง ตามหลัการ โดยหลักการบางอย่างที่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ในการเขียนหนังสือลาวมี :

  1. หลักตัวอักษร
  2. หลักไม้เอกไม้โท
  3. หลักเครื่องหมายวรรค
  4. หลักการใช้ตัว “ ຮ ” ( ฮ ) และตัว “ ລ ” ( ล )
  5. หลักการใช้สระจำนวนหนึ่ง

1. หลักการตัวอักษร

หลัการใช้ตัวอักษารลาว ต้องเีขียนให้ถูกตัวอักษรสูง, อักษรกลาง และอักษรต่ำ. อักษรต่าง ๆ ที่มักใช้สลับกันเช่น :

ตัว “ ຂ ” กับตัว “ ຄ ”

ตัว “ ສ ” กับตัว “ ຊ ”

ตัว “ ຖ ” กับตัว “ ທ ”

ตัว “ ຜ ” กับตัว “ ພ ”

ตัว “ ຝ ” กับตัว “ ຟ ”

ตัว “ ຫ ” กับตัว “ ຮ ”

ตัวอย่าง :

คำที่ใช้อักษรกลาง :

ຂັດ : ຂັດຂ້ອງ, ຂັດຂວາງ ( ขัด : ขัดข้อง, ขัดขวาง )
ແຂ່ງ : ແຂ່ງຂັນ ( แข่ง : แข่งขัน )
ຂົ້ມ : ຂົ່ມເຫັງ ( ข่ม : ข่มเหง )
ສັກ : ສັກຢາ, ສັກສີ ( สัก : สักยา, สักสี –ศักดิ์ศรี )
ສັບ : ສັບພາສາ, ໂທລະສັບ ( ศัพท์ : ศัพท์ภาษา, โทรศัพท์ )
ສໍ່ : ສັບສໍ່ : ( ส่อ : สับส่อ –ประมาณว่า กระซิบ น่ะครับ )
ຖັກ : ຖັກແສ່ວ ( ถัก : ถักแส่ว –หมายถึงพวกถักทอ ในภาษาไทย )
ຖົກ : ຖົກຖອກ, ຖົກເຊືອກ (ถก : ถกถอน –หมายถึง ถอดถอน, —)
ຖົ່ວ : ໝາກຖົ່ວ ( ถั่ว : หมากถั่ว )
ຜັກ : ຜັກກາດ ( ผัก : ผักกาด)
ຜັດ : ຜັດປືນ, ສຳຜັດ (ผัด : —, สำผัส)
ໂຜດ : ໂຜດຜາຍ ( โผด : — )
ຝາກ : ຂອງຝາກ ( ฝาก : ของฝาก )
ຝ່າ : ຝ່າຟືນ ( ผ่า : ผ่าฟืน –ภาษาลาวจะพูดว่า ฝ่าฟืน )
ຝາດ : ຝາດເຂົ້າ, ຂົມຝາດ (ฝาด : —, ขมฝาด )
ຫັດ : ເຂົ້າຫັດ, ກົກຫັດ, ເຝິກຫັດ ( หัด : —, —, ฝึกหัด )
ຫາກ : ຕ່າງຫາກ ( หาก : ต่างหาก )
ເຫັດ : ເຫັດປວກ ( เห็ด : เห็ดปลวก –ภาษาลาวไม่นิยมใช้ ล จะใช้แค่ว่า ปวก ไม่ต้องมี ล )

****ตรงนี้จะเห็นว่า จริง ๆ แล้ว วิธีเขียนภาษาลาว มันจะมีหลักการง่าย ๆ อยู่อีกอย่างคือ “ เขียนให้ง่ายเข้าไว้ ” อย่างเช่น โทรศัพท์ ภาษาลาวจะเขียนแค่ว่า โทละสับ หรือ ศัพท์ภาษา ก็จะเขียนเป็น สับพาสา และ ศักดิ์ศรี ก็จะเป็น สักสี อย่างนี้เป็นต้นครับ

คำที่ใช้อักษรต่ำ :

ຄັດ : ຄັດເລືອກ, ເຄັ່ງຄັດ ( คัด : คัดเลือก, เคร่งครัด )
ແຄ່ງ : ແຄ່ງຂາ ( แค่ง –แข้ง ในภาษาไทย : แข้งขา )
ຄົ່ມ : ເອົາມືຄົ່ມ ( ข่ม : เอามือข่ม )
ຊັກ : ຊັກເຄື່ອງ, ຊັກຈູງ ( ซัก : ซักเคื่อง –หมายถึง ซัีกเสื้อผ้า ในภาษาไทย, ซักจูง )
ຊັບ : ຊັບຊິ່ມ, ຊັບສິນ ( ทรัพย์, —, ทรัพย์สิน )
ຊໍ່ : ຊໍ່ດອກໄມ້, ຊ້ອງຊໍ່ ( ช่อ : ช่อดอกไม้, — )
ທັກ : ທັກທ້ວງ ( ทัก : ทักท้วง )
ທົກ : ສະທົກສະທ້ານ ( ทก : สะทกสะท้าน )
ທົ່ວ : ທົ່ວໄປ, ທົ່ວທີບ ( ทั่ว: ทั่วไป, ทั่วทีบ –หมายถึงว่า ทั่วไปหมด )
ພັກ : ພັກເຊົາ, ພັກພວກ ( พัก : พักเซา –หมายถึง พักแรม, พรรคพวก )
ພັດ : ພັດພາກ, ລົມພັດ ( พัด : พัดพาด –ภาษาไทยจะพูดว่า พลัดพราก, ลมพัด )
ໂພດ : ໂພດເຫຼືອ ( โพด : โพดเหลือ –หมายถึง เกินเหตุ )
ຟາກ : ຟາກນ້ຳ, ຟາກປູເຮືອນ ( ฟาก : ฟากน้ำ, — )
ຟ່າ : ໝາກຟ່າ ( ฟ่า : — )
ຟາດ : ແສ້ຟາດ, ຟາດປາ (ฟาด : แส้, — )
ຮັດ : ກອດຮັດ, ກະທັດຮັດ ( รัด : กอดฮัด –กอดรัด, กะทัดฮัด –กะทัดรัด ในภาษาไทย )
ຮາກ : ຮາກອອກ, ຮາກໄມ້ ( ฮาก –หมายถึง ราก : ฮากออก, ฮากไม้ )
ເຮັດ : ເຮັດວຽກ ( เฮ็ด : เฮ็ดเวียก –เฮ็ด = ทำ)

****ตรงที่เป็นขีด — แสดงว่า ผมไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ ว่าในภาษาไทยมี และเรียกว่าอย่างไรนะครับ ถ้าท่านใดพอจะช่วยได้ ก็เขียนความคิดเห็นเข้ามาได้ครับ ขอบคุณครับ 😉

****อีกจุดที่น่าสังเกตในภาษาลาวคือ ไม่มีไม้ไต่คู้ครับ จะนิยมใช้ไม้หันอากาศ หรือที่ในภาษาลาวเรียกว่า “ ໄມ້ກັນ ” ( ไม้กัน ) แทน เช่น เฮ็ด ก็จะเป็น ເຮັດ

Technorati Tags: , , , , , , ,

บทที่ ๒: วิธีใช้ตัวอักษร และเครื่องหมายต่าง ๆ ( ต่อ )

໒.໑ ວິທີໃຊ້ເຄື່ອງຫມາຍຕ່າງ ໆ ( วิธีใช้ตัวเครื่องหมายต่าง ๆ )

ใน การเขียนหนังสือลาว ก็เหมือนกับหนังสือชาติอื่น ๆ การนำใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะมันจะช่วยให้การเขียนหนังสือถูกต้องตามหลัการ และเป็นระเบียบสวยงามอีกด้วย. ฉะนั้น นอกจากการเขียนอักษร, การประกอบอักษรให้เป็นคำพูด หรือประโยกอย่างถูกต้องแล้ว ยังต้องรู้นำใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ให้ชัดเจนอีกด้วย.

เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนภาษาลาวมีดังนี้ :

ເຄື່ອງຫມາຍຈ້ຳ “ . ”
ใช้หมายตรงที่หมดประโยก หรือหมดวรรค์เช่น :

ການອອກແຮງງານຂອງມະນຸດ ບໍ່ພຽງແຕ່ຜະລິດຊັບສິນ ວັດຖຸທີ່ຕ້ອງການໃຫ້ແກ່ການດຳລົງຊີວິດຂອງມະນຸດເທົ່ານັ້ນ, ແຕ່ຍັງເຮັດໃຫ້ສະຕິປັນຍາຂອງຄົນນັບມື້ນັບຂະຫຍາຍຕົວ ແລະຄ່ອຍ ໆ ເປັນເຈົ້າທຳມາຊາດ, ຄ່ອຍ ໆ ຄົ້ນພົບຄວາມລັບຂອງທຳມະຊາດອີກດ້ວຍ.

ເຄື່ອງຫມາຍຈຸດ “ , ” ใช้เพื่อคั่นคำ ให้ผู้อ่านหยุดพักนิดนึง แล้วค่อยอ่านต่อ. ( ถ้าจะให้ผู้อ่านหยุดพักสั้นกว่า ก็ไม่ต้องใช้จุด, เพียงแค่เว้นวรรค์ก็ได้ ) เช่น : ການອອກແຮງງານຂອງມະນຸດ ບໍ່ພຽງແຕ່ຜະລິດຊັບສິນ ວັດຖຸທີ່ຕ້ອງການໃຫ້ແກ່ການດຳລົງຊີວິດຂອງມະນຸດເທົ່ານັ້ນ, ແຕ່ …

ເຄື່ອງຫມາຍຈ້ຳຈຸດ “ ; ” ใช้เครื่องหมายนี้ ในที่ ๆ หมดตอน แต่ยังไม่ทันหมดเรื่อง หรือไม่ทันหมดวรรค์เช่น :

ປ່າໄມ້ ນອກຈາກຈະເປັນແຫລ່ງສະໜອງໄມ້ສຳລັບການຜະລິດ ແລະການນຳໃຊ້ຂອງພວກເຮົາແລ້ວ, ຍັງເປັນບ່ອນເພິ່ງພາອາໄສຂອງສັດປ່າ, ສັດນ້ຳ ນານາ ຊະນິດທີ່ມີຄຸນຄ່າຫາຍາກ ເຊິ່ງໃນນັ້ນບາງປະເພດກໍ່ຍັງມີຢູ່ແຕ່ປະເທດເຮົາເທົ່ານັ້ນ; ປ່າໄມ້ຍັງມີບົດບາດສຳຄັນ ໃນການຮັກສາຄວາມດູນດ່ຽງ ຂອງສະພາບແວດລ້ອມ …

ເຄື່ອງຫມາຍສອງຈ້ຳ “ : ” ใช้หมายเพื่อให้รู้ว่า จะเล่าคำพูด อันใดอันหนึ่งต่อไปเช่น : ອັກສອນໃນພາສາລາວ ມີ ໓ ຈຳພວກຄື : ພະຍັນຊະນະ, ສະຫຼະ ແລະ ວັນນະຍຸດ.

ເຄື່ອງຫມາຍຂີດຕໍ່ “ – ” ใช้ขีดคำใดคำหนึ่งในประโยก หรือ ขีดต่อสองคำใส่กัน หรืออาจจะใช้ขีดหัวแถวก็ได้เช่น : ໄລຍະທາງແຕ່ວຽງຈັນ-ໂພນໂຮງເປັນເສັ້ນທີ່ໄປມາໄດ້ສະດວກສະບາຍ.

ເຄື່ອງຫມາຍຂີດກ້ອງ “ ______ ” ใช้หมายคำพูดที่ต้องการเน้นหนักเช่น : ນະຄອນຫຼວງຂອງ ສ.ປ.ປ. ລາວ ແມ່ນ ວຽງຈັນ; ເປັນນັກຮຽນຕ້ອງ ຕັ້ງໜ້າຮ່ຳຮຽນ

ເຄື່ອງຫມາຍຈ້ຳ ໆ “ … ” ใช้หมายให้รู้ว่า มีที่ให้เขียนลงที่ตรงนี้ แต่ไม่ได้เขียน เช่น : ໃນປະເທດເຮົາມີໝາກໄມ້ຫລາຍຊະນິດຄື : ໝາກພ້າວ, ໝາກມ່ວງ, ໝາກມີ້ …; ໃນຫ້ອງສະໝຸດມີປຶ້ມນິທານ …

ເຄື່ອງຫມາຍຖາມ “ ? ” ใช้หมายให้รู้ว่า คำพูดข้างหน้านี้ เป็นคำถามเช่น : ໃນຄອບຄົວຂອງເຈົ້າມີໃຜແດ່ ? ເຈົ້າມີອ້າຍ ຫຼື ນ້ອງບໍ ?

ເຄື່ອງຫມາຍທ້ວງ “ ! ” ใช้หมายให้รู้ว่า คำพูดนี้มีควาแผดร้อง, ความอัศจรรย์, ความตื่นเต้น, ความเจ็บใจ เช่น : ປະໂທ ! ຈັ່ງແມ່ນງາມແທ້ນໍ !

ເຄື່ອງຫມາຍວົງຢືມ  “ … ใช้หมายให้รู้ว่า คำพูดในระหว่างสองวงนี้ เป็นการยืมเอาคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่งมาพูดอีกครั้ง เช่น : ເພິ່ນເອີ້ນປີນີ້ວ່າ “ ປີແຫ່ງການອະນຸຮັກສິ່ງແວດລ້ອມ ” , ອັນທີ່ເພິ່ນເອີ້ນວ່າ: “ ການປ່ຽນແປງໃໝ່ຢ່າງຮອບດ້ານ ” …

ເຄື່ອງຫມາຍວົງເລັບ “ ( … ) ” ใช้หมายคำพูดชี้แจงเพิ่มเติมก่อนอักอยู่นอกวงเล็บ เช่น : ສ.ປ.ປ.ລ ( ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ ).

ເຄື່ອງຫມາຍລຶ້ມ “ ” ” ใช้ขีดหมายลงด้านล่างของคำพูดอันใดอันหนึ่ง ที่ต้องพูดอีกครั้ง ( ລຶ້ມ = อีกครั้ง, ช้ำ –ลืมบอกครับ ขออภัย ) แต่ไม่อยากเขียนช้ำ ท่านจึงใช้เครื่องหมายนี้แทน เช่น :

+ ແມ່ນໝາຍ ບວກ
–       ”     ລົບ
x      ”     ຄູນ
:       ”     ຫານ

****จริง ๆ แล้ว เวลาเขียน ” จะมีวิธีเขียนที่หลากหลายมากครับ ไว้โอกาสหน้าถ้าไม่ลืม จะนำมาลงครับ

ເຄື່ອຫມາຍ ແລະອື່ນ ໆ “ ໆລໆ ” ใช้หมายให้รู้ว่า มีอย่างอื่นให้พูดอีก หากแต่ไม่ได้เขียนลงตรงนี้ เช่น : ໃນສວນຜັກຫ້ອງພວກຂ້ອຍ ເພິ່ນປູກຜັກກາດ, ຜັກບົ່ວ, ຜັກຊີ, ຜັກກະລ່ຳ ໆລໆ

ເຄື່ອງຫມາຍຊ້ຳ “ ໆ ” ใช้หมายให้รู้ว่า คำพูดก่อนหน้านี้ ต้องพูดช้ำอีกครั้งหนึ่งเช่น : ນາງ ບົວສີ ປູກຜັກງາມ , ຄຳຈັນ ຊ່ວຍພໍ່ແມ່ປັດກວາດເຮືອນຊານ, ເກືອເປັດ, ເກືອໄກ່ ແລະອື່ນ

รวมทั้งหมดก็มีอยู่ 14 แบบนะครับ

Technorati Tags: , , , , , , , , ,

บทที่ ๒: วิธีใช้ตัวอักษร และเครื่องหมายต่าง ๆ

ບົດທີ່ ໒: ວິທິໃຊ້ຕົວອັກສອນ ແລະເຄື່ອງຫມາຍຕ່າງ ໆ

໒.໑ ວິທີໃຊ້ຕົວອັກສອນ ( วิธีใช้ตัวอักษร )

ກ. ວິທີໃຊ້ພະຍັນຊະນະ ( วิธีใช้พยัญชนะ )
การนำใช้พยัญชนะในภาษาลาวทั้ง 26 ตัวนั้น มีวิธีใช้อยู่ 2 อย่างคือ : ใช้เป็นพยัญชนะแกน ( ตัวอักษรแกน )
และ ใช้เป็นตัวสะกด.

พยัญชนะแกน เป็นพยัญชนะตัวออกเสียง ในพยางค์ที่ไม่ใช่เสียงสะกด. พยัญชนะแกนลวมทั้งพยัญชนะเค้า และพยัญชนะผสม. พยัญชนะเค้า เป็นพยัญชนะแกนตัวเดียว ที่ผสมด้วยสระ มีตัวสะกดอยู่ข้างหลัง หรือไม่มีก็ตาม ดังนี้ :

ກາ ປີ ແຂ ເຄືອ ຍາວ ດອນ ຕ່າງ ເມືອງ ตัว ກ ປ ຂ ຄ ຍ ດ ຕ ມ ที่มีอยู่ในคำเหล่านั้น เรียกว่าพยัญชนะเค้า.

พยัญชนะผสม คือพยัญชนะสองตัว ที่อยู่ต้นพยางค์, ตัวที่อยู่ต่อหน้าคือ “ຫ” ( ห ) ผสมกับพยัญชนะ ງ ນ ມ ຍ ລ ວ แล้วออกมาเป็นอักษรที่มีเสียงสูงดังนี้ :

ຫ ผสมกับ ງ เป็น ຫງ ตัวอย่าง : ເຫງັນ
ຫ ผสมกับ ນ เป็น ຫນ ตัวอย่าง : ໜູ
ຫ ผสมกับ ມ เป็น ຫມ ตัวอย่าง : ໝູ
ຫ ผสมกับ ຍ เป็น ຫຍ ตัวอย่าง : ຫຍ້າ
ຫ ผสมกับ ລ เป็น ຫລ ตัวอย่าง : ຫຼາ
ຫ ผสมกับ ວ เป็น ຫວ ตัวอย่าง : ຫວີ

***ตรงนี้จะเห็นว่า ในภาษาลาวนั้น เวลาเราผสมแล้ว จะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างออกไป เช่น “ຫ” กับ “ມ” แทนที่เราจะเขียนว่า “ຫມ” เราก็อาจจะเขียนเป็น “ໝ” ได้ครับ สามารถใช้ได้ทั้งสองแบบ

การนำใช้ตัวสะกด 8 ตัวเช่น : ກ ງ ດ ນ ບ ມ ຍ ວ ต้องใช้เป็นตัวสะกดอยู่ท้ายพยางค์เสมอ และก็ไม่มีสระผสมอยู่ด้วยเช่น : ກັກ ກັງ ກັດ ກັນ ກັບ ການ ກາຍ ກາວ

ຂ. ວິທີໃຊ້ສະຫຼະ ( วิธีใช้สระ )

สระใช้สำหรับเขียนประกอบกับพยัญชนะแกน เพื่อให้อ่านออกเสียงได้. สระทั้งหมดเมื่อประกอบกับพยัญชนะแล้วนั้น จะเห็นว่า มีบางสระก็อยู่หน้า บางสระก็อยู่หลัง และอยู่บน หรืออยู่ล่าง เช่น :

  • จำพวกที่อยู่หน้าคือสระ : ເອ ແອ ໂອ ໄອ ໃອ
  • จำพวกที่อยู่หลังคือสระ : ອະ ອາ ອອ ອວ ອຽ
  • จำพวกที่อยู่บนคือสระ : ອິ ອີ ອັ ອໍ ອຶ ອື ອົ
  • จำพวกที่อยู่ล่างคือสระ : ອຸ ອູ

สระทุกตัวประกอบกับพยัญชนะแกนเสมอ ดังนี้ : ຄູ ປີ ເພ ເດືອນ ເວຫາ … ถ้าหากเป็นอักษรควบ หรือพยัญชนะผสม ต้องประกอบสระใส่พยัญชนะตัวที่สองเสมอ ดังนี้ : ຂວາ, ຄວາຍ, ຂວັ້ນ, ເຫງັນ, ຫວານ, ຫວີ …

Technorati Tags: , , , , , , , , , ,