Category Archives: บทเรียนภาษาลาว

บทที่ ๑.๖: วรรณยุกต์

ບົດທີ່ ໑.໖: ວັນນະຍຸດ

วรรณยุกต์ คือตัวอักษรจำพวกนึง ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนเสียง เพื่อให้สำเนียงเสียงพูดแตกต่างจากเสียงของสระ และพยัญชนะเดิม, ตัวอย่างคำว่า “ມ້າແລ່ນ” ( ม้าแล่น –ม้าวิ่ง ในภาษาไทย) เมื่อไม่ใส่วรรณยุกต์ก็จะออกเสียงเป็น “ມາແລນ” (มาแลน) แทน ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมายอะไร

วรรณยุกต์ในภาษาลาวนั้น จะมีด้วยกัน 4 ไม้ ดังนี้ครับ:

เรียกว่า ໄມ້ເອກ แปลว่า ໄມ້ທີ່ຫນຶ່ງ

เรียกว่า ໄມ້ໂທ แปลว่า ໄມ້ທີ່ສອງ

เรียกว่า ໄມ້ຕີ แปลว่า ໄມ້ທີ່ສາມ

เรียกว่า ໄມ້ຈັດຕະວາ แปลว่า ໄມ້ທີ່ສີ່
ถึงจะมี 4 ไม้ แต่ส่วนมากแล้ว จะนิยมใช้กันแค่ไม้เอก กับไม้โท. การใช้วรรณยุกต์ทั้งสี่นั้น ให้เขียนไว้บนหัวของตัวอักษรแกนของคำนั้น ๆ เสมอ เช่น: ກ່າ, ກ້າ, ກ໊າ, ກ໋າ.

เพราะมีวรรณยุกต์ จึงช่วยให้เราสามารถเขียนคำพูดในภาษาลาวได้มากเพียงพอต่อการสื่อสารในทุกระดับ

Technorati Tags: , , , , ,

บทที่ ๑.๕: สระ

ບົດທີ່ ໑.໕: ສະຫຼະ

สระคือตัวอักษรหมวดนึง ที่ใช้ประกอบใส่กับพยัญชนะ ให้อ่านออกเสียงเป็นพยางค์ หรือ เป็นคำพูด. สระในภาษาลาวนั้น มีทั้งหมด 28 ตัวด้วยกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ: ສະຫຼະເຄົ້າ ( สระเค้า ) และ ສະຫຼະປະສົມ ( สระผสม )

– สระเค้ามี 15 ตัวคือ: ອະ, ອາ, ອິ, ອີ, ອຶ, ອື, ອຸ, ອູ, ເອ, ໂອ, ອໍ, ໄອ, ໃອ.
– สระผสมมี 12 ตัวคือ: ເອະ, ແອ, ໂອະ, ເອາະ, ອົວະ, ອົວ, ເອິ, ເອີ, ເອຶອ, ເອືອ, ເອັຍ, ເອຍ

สระเค้า และสระผสมมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว ดังนั้น จึงแบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น และสระเสียงยาวโดยจัดเป็นคู่กันดังนี้:

[สระเสียงสั้น] เป็นคู่กับ [สระเสียงยาว]

ອະ — เป็นคู่กับ — ອາ
ອິ — เป็นคู่กับ — ອີ
ອຶ —  เป็นคู่กับ — ອື
ອຸ — เป็นคู่กับ — ອູ
ເອະ — เป็นคู่กับ — ເອ
ແອະ — เป็นคู่กับ — ແອ
ໂອະ — เป็นคู่กับ — ໂອ
ເອາະ — เป็นคู่กับ — ອໍ
ເອິ — เป็นคู่กับ — ເອີ
ເອັຍ — เป็นคู่กับ — ເອຍ
ອົວະ — เป็นคู่กับ — ອົວ

ໄອ
ໃອ
ເອົາ
ອຳ

สระ 4 ตัวสุดท้าย ไม่มีสระอื่นเป็นคู่ ดังนั้น จึงถูกจัดให้เป็นสระพิเศษครับ

Technorati Tags: , , , , , , ,

บทที่ ๑.๔: ตัวอักษรแกน และตัวสะกด

໑.໔ ຕົວອັກສອນແກນ ແລະຕົວສະກົດ

อักษรแกน คือพยัญชนะตัวที่เอาเสียงของตัวเอง ไปเป็นแกนเสียงของคำพูด ตัวอย่างเช่น

  • ໄປ ตัว ປ คืออักษรแกน
  • ນັກຮຽນ ตัว ນ และ ຮ คือตัวอักษรแกน
  • ບ້ານເມືອງເຮົາ ตัว ບ, ມ และ ຮ คือตัวอักษรแกน

อ่า… จะสังเกตว่า ในภาษาลาวคำว่า “เรียน” จะเขียนเป็น “ຮຽນ” นะครับ จะมีตัว “ຽ” หรือที่เรียกว่า “ຍໍເຟື້ອງ” (ภาษาไทยไม่อักษรตัวไหนที่ออกเสียง “ຍ” ได้นะครับ ลืมบอกไป… เอ๊ะ!? หรือจะมี) แล้วก็ ในภาษาลาว ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ค่อยได้ใช้ตัว “ຣ” (ร) แล้วครับ จะใช้ “ຮ” (ฺฮ) แทนครับ

กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า อักษรแกนในภาษาลาวทั้งหมด จะมีอยู่ถึง 32 ตัว ตามจำนวนพยัญชนะทั้งหมด ในที่นี้ จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็น อักษรแกนล้วน ๆ คือ เป็นอักษรแกนอย่างเดียว และอีกจำนวนหนึ่ง ที่เป็นทั้งอักษรแกน และเป็นทั้งตัวสะกด ดั่งนี้ครับ:

จำนวนที่เป็นอักษรแกนล้วน ๆ มี 24 ตัวคือ:

ຂ ຄ ຈ ສ ຊ ຕ ຖ ທ ປ ຜ ຝ ພ

ຟ ຢ ລ ຫ ອ ຮ ຫງ ຫຍ ໜ ໝ ຫຼ ຫວ


+ จำนวนที่เป็นอักษรแกน และเป็นทั้งตัวสะกด จะมีเพียง 8 ตัวคือ:

ກ ງ ຍ ດ ນ ບ ມ ວ

ตัวสะกด ในภาษาลาว จะหมายถึงพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยัญชนะอีกที ซึ่งจะไม่มีสระมาผสมอยู่ด้วย เช่น: ກາກ, ກາງ, ກວນ, ກິນ, ກຸມ, ກາຍ จะเห็นว่า ກ, ງ, ນ, ມ, ຍ ที่อยู่ท้าย จะเป็นตัวสะกด และตัวสะกด ยังแบ่งออกเป็นตัวสะกดตาย และตัวสะกดเป็นอีกด้วย

ตัวสะกดเป็น: คือตัวสะกดที่ผันเสียงไปตามวรรณยุกต์ได้ มีอยู่ 5 ตัวครับ:

ງ ຍ ນ ມ ວ

ตัวอย่าง: ກ້າງ, ກ້ວຍ, ກິ່ນ, ກ້ອມ, ກ້າວ

ตัวสะกดตาย: คือตัวสะกด ที่ผันเสียงไปตามวรรณยุกต์ไม่ได้ครบถ้วน ในภาษาลาว จะมีอยู่ 3 ตัวคือ

ກ ດ ບ

ตัวอย่าง: ກັກ, ກັດ, ກັບ เป็นต้นครับ

…บทนี้ผมว่า งง ๆ นะ ยังไงก็ติชมเข้ามาได้ึครับ, ขอบคุณครับ.

Technorati Tags: , , , , , , ,

บทที่ ๑.๒: พยัญชนะผสม

໑.໓ ພະຍັນຊະນະປະສົມ

พยัญชนะควบ คือพยัญชนะที่เอาเสียงของมัน เข้าไปควบกับเสียงพยัญนะตัวอื่น ซึ่งสำหรับในภาษาลาวนั้น จะมีเพียงตัวเดียว ก็คือ “ວ” (ว) สามารถใช้ควบกับพยัญชนะอื่นได้ทุกตัวครับ

การใช้พยัญชนะควบในภาษาลาว ก็เหมือน ๆ กับภาษาไทยนั่นล่ะครับ เอาตัว “ວ” ไปวางไว้่ข้างหลังของพยัญชนะตัวที่ต้องการ เพื่อเอาเสียงของมันควบเข้ากับตัวที่ต้องการ เพื่อให้เป็นเสียงที่มีตัว “ວ” อยู่ด้วย มีตัวอย่างดังนี้:

ກ กับ ວ ควบกันเป็น ກວ เช่น : ແກວ່ງ, ກວາງ
ຂ กับ ວ ควบกันเป็น ຂວ เช่น : ແຂວງ, ຂວານ
ຄ กับ ວ ควบกันเป็น ຄວ เช่น : ຄວາຍ, ແຄວ້ນ
ງ กับ ວ ควบกันเป็น ງວ เช่น : ງົມງວາ, ງວາກ
ຈ กับ ວ ควบกันเป็น ຈວ เช่น : ໄຈ້ວໆ

จบครับ

เอ๊ะ… ผมว่า มันชักจะยังไง ๆ อยู่นะ… -_-”
เอาเป็นว่า จะเขียนให้จบเล่มก่อนละกัน จากนั้นค่อยเขียนเกี่ยวกับพวกคำต่าง ๆ หรืออาจจะเป็น ความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับภาษาลาวให้อ่านกัน 😉

Technorati Tags: , , , , , , ,

บทที่ ๑.๒: พยัญชนะผสม

໑.໒ ພະຍັນຊະນະປະສົມ (พยัญชนะผสม)

พยัญชนะผสม คือพยัญชนะสองตัว ที่เอามาผสมกันให้เป็นตัวเดียวโดยในภาษาลาวนั้น จะมีอยู่ ๖ ตัวด้วยกัน แต่ละตัว ตั้งต้นด้วยตัว ຫ (ห) ที่เป็นอักษรสูง แล้วเอาตัว ງ ຍ ນ ມ ລ ວ ที่เป็นอักษรต่ำมาผสม โดยจะมีเพียงอักษรต่ำเหล่านี้เท่านั้น ที่ใช้ผสมได้

เมื่อผสมแล้ว ตัว ຫ จะไม่ออกเสียง แต่มันจะทำให้ตัวอักษรต่ำเหล่านั้น ผันเสียงเป็นอักษรเสียงสูงดั่งนี้:

  • ຫ ผสมกับ ງ เป็น ຫງ ตัวอย่างเช่น: ເຫງົາ (เหงา)
  • ຫ ผสมกับ ຍ เป็น ຫຍ ตัวอย่างเช่น: ຫຍ້າ (หญ้า)
  • ຫ ผสมกับ ນ เป็น ຫນ ตัวอย่างเช่น: ຫນາ, ໜາ (หนา)
  • ຫ ผสมกับ ມ เป็น ຫມ ตัวอย่างเช่น: ຫມູ, ໝູ (หมู)
  • ຫ ผสมกับ ລ เป็น ຫລ ตัวอย่างเช่น: ຫລາ, ຫຼາ (หลา)
  • ຫ ผสมกับ ວ เป็น ຫວ ตัวอย่างเช่น: ຫວີ (หวี)

(ตรงนี้ จะสังเกตุว่า ในภาษาลาว นอกจากจะผสมคำ เพื่อให้ออกเสียงเป็นเสียงสูงแล้ว คำที่ผสมนั้น ก็ยังสามารถนำมาผสมกันได้อีก อย่างเช่น ຫນ ก็สามารถเขียนรวมกันเป็น ໜ ได้ หรือ ຫມ ก็เขียนเป็น ໝ ได้เลย รวมไปถึง ຫຼ ที่สามารถใช้แทน ຫລ ได้ครับ)

ปล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ

บทที่ ๑.๑: พยัญชนะเค้า

໑.໑ ພະຍັນຊະນະເຄົ້າ (พยันชนะเค้า)

ในจำนวนพยัญชนะทั้ง ๓๒ ตัว จะมีพยัญชนะเค้า ซึ่งเป็นพยัญชนะตัวเดิม ที่ยังไม่ได้ผสมกับตัวอื่น โดยพยัญชนะเค้านั้น จะมีทั้งหมดด้วยกัน ๒๖ ตัวคือ:

ກ ຂ ຄ ງ ຈ ສ ຊ ຍ ດ ຕ ຖ ທ ນ ບ ປ ຜ ຝ ພ ຟ ມ ຢ ລ ວ ຫ ອ ຮ

นอกจากนั้นแล้ว พยัญชนะเค้า ยังถูกแบ่งออกเป็น ๓ หมวดหมู่คือ:

  1. ອັກສອນສູງ (อักษรสูง)
  2. ອັກສອນກາງ (อักษรกลาง)
  3. ອັກສອນຕ່ຳ (อักษรต่ำ)

๑. อักษรสูง จะหมายถึงจำพวกอักษร ที่มีเสียงสูง ซึ่งมี ๖ ตัวด้วยกัน คือ:

ຂ ສ ຖ ຜ ຝ ຫ

๒. อักษรกลาง จะหมายถึงจำพวกอักษรที่มีเสียงอยู่ในระดับปลานกลาง ไม่สูง ไม่ต่ำ มีทั้งหมด ๘ ตัวคือ:

ກ ຈ ດ ຕ ບ ປ ຢ ອ

๓. อักษรต่ำ จะเป็นพวกอักษรที่มีเสียงต่ำ มี ๑๒ ตัวด้วยกัน คือ:

ຄ ງ ຊ ຍ ທ ນ ພ ຟ ມ ລ ວ ຮ

ปล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ

บทที่ ๑: ตัวอักษรลาว

เอาละครับ ในที่สุด ก็ได้เวลาเริ่มบทเรียนกันเสียที หลังจากที่ดองโปรเจ็คมานานแสนนาน ซึ่งก่อนอื่น ต้องขอบอกก่อนเลยว่า บทสอนต่างๆ จะอ้างอิงมาจากหนังสือ

“ແບບຮຽນ ພາສາລາວ ແລະວັນນະຄະດີ ຊັ້ນມັດຖະຍົມປີທີ ຫນຶ່ງ”
(แบบเรียน ภาษาลาว และวรรณคดี ชั้นมัธยมปีที่ หนึ่ง)

โดย

“ກະຊວງສຶກສາທິການ ສະຖາບັນຄົ້ນຄວ້າ ວິທະຍາສາດ ການສຶກສາ ແຫ່ງຊາດ”
(กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันค้นคว้า วิทยาศาสตร์ การศึกษา แห่งชาติ)

เป็นหลักนะครับ และวันแรก เราจะมาทำความเข้าใจกันถึง ตัวอักษรในภาษาลาว กันครับ

ตัวอักษรลาว

ตัวอักษรในภาษาลาวนั้น จะถูกแบ่งเป็น ๓ หมวดคือ

  1. ພະຍັນຊະນະ (พยัญชนะ)
  2. ສະລະ (สระ)
  3. ວັນນະຍຸດ (วรรณยุกต์) <– ขอบคุณคุณ MaewDam ครับที่แก้ให้ ^_^

ในภาษาลาวก็เหมือนๆ กับภาษาไทย และภาษาอื่นๆ ในโลกนี้ การที่จะเขียนคำๆ หนึ่ง ก็จะต้องใช้หลายตัวอักษรมาประกอบเข้ากัน ตัวอย่างก็เช่นว่า “ແກ້ວ” (แก้ว) จะสามารถแยกได้ดั่งนี้:

  • ແx (แx) คือสระ
  • ກ (ก) คือพยัญชนะหลัก หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นพยัญชนะตัวออกเสียง
  • ວ (ว) เป็นพยัญชนะตัวสะกด
  • ້ (x้) ตัวนี้ก็จะเป็นวรรณยุกต์

จะเห็นว่า การเรียนรู้ภาษาลาวนั้น จะต้องเรียนรู้ตัวอักษรลาว และการเขียนตัวอักษรให้ถูกที่ของมัน จึงจะสามารถเขียนคำพูด และประโยคออกมาได้อย่างถูกต้อง

ป.ล. คำไหนในภาษาไทยที่ผมสะกดคำผิด รบกวนช่วยบอกด้วยนะครับ